สำราญ สินธ์ทอง เลขาธิการมูลนิธิอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติอันดามัน จับมือเอกราชทูต 5 ประเทศ กองทัพเรือภาคที่3 กรมทรัพยาทางทะเลและชายฝั่ง ปล่อยเต่าฝ่าคลื่นคืนสู่อันดามัน เก็บขยะชายหาดเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์
20 2 2565 16 30 น ณ โรงแรมนาใต้เบสรีสอร์ทแอนด์สปา
นายสำราญ สินธ์ทอง เลขาธิการมูลนิธิอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติอันดามัน ที่ปรึกษากงสุลกิตติมศักดิ์ประเทศคาซัคสถาน ภูเก็ต ประธานโครงการกล่าวรายงาน และเราให้การต้อนรับในการเข้าร่วมโครงการ โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดพังงามอบให้ปลัดจังหวัดพังงาเป็นประธานเปิดโครงการ นายจำเริญ ทิพญพงศ์ธาดา ผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา มอบหมายให้พันจ่าโทอนันต์ บุญสำราญ ปลัดจังหวัดพังงา ให้การต้อนรับนางเราชัน เยสบูลาโตวา เอกอัครราชทูตแห่งสาธารณรัฐคาซัคสถาน ประจำประเทศไทย และเอกอัครราชทูต อีก 5 ประเทศ ประกอบด้วย สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ สาธารณรัฐปานามา สาธารณรัฐโคลัมเบีย และประเทศแคนนาดา หลักการและเหตุผล เพื่อสนองพระดำริสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ที่ทรงมีเจตนารมณ์ในการอนุรักษ์แนวประการัง กัลปังหา และสิ่งมีชีวิตใต้ทะเลไทย มูลนิธิอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติอันดามันร่วมกับหน่วยงานราชการ องค์กรเอกชน และประชาชน ดำเนินกิจกรรมการอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่งให้มีความอุดมสมบูรณ์ สามารถใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติทางทะเล ได้อย่างมีความสมดุลและยั่งยืน อีกทั้งเป็นการกระตุ้นสร้างการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชน เป็นการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์แนวปะการัง กัลปังหา และสิ่งมีชีวิตใต้ทะเลไทย เผยแพร่ให้สาธารณชน ประชาชนทั้งชาวไทย และต่างประเทศได้เห็นถึงคุณค่าและประโยชน์ ก่อให้เกิดความร่วมมือในการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลให้มีความอุดมสมบูรณ์ พื้นที่ชายฝั่งทะเลอันดามัน เป็นพื้นที่การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศที่เน้นการพัฒนาในเชิงการเป็นแหล่งผลิตอาหาร ประมง การท่องเที่ยวทางธรรมชาติและวิถีชีวิตชุมชน รวมตลอดจนเป็นพื้นที่ที่มีความได้เปรียบด้านที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ ซึ่งเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน นอกจากนี้พื้นที่ชายฝั่งทะเลอันดามันครอบคลุมหลายจังหวัดตั้งแต่ จังหวัด ระนอง - พังงา - ภูเก็ต - กระบี่ – ตรัง- สตูล และสภาพลุ่มน้ำสายสั้นไหลลงพื้นที่ด้านทิศตะวันตกของทะเล ทำให้สภาพของระบบนิเวศทางธรรมชาติมีความอุดมสมบูรณ์ด้วยป่าชายเลน ทรัพยากรสัตว์น้ำ หาดทราย เกาะน้อยใหญ่ และทรัพยากรทางทะเลอีกเป็นจำนวนมาก ในสภาพปัจจุบันด้วยความเจริญเติบโตในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม การใช้ทรัพยากรธรรมชาติในรูปแบบต่างๆ ทำให้ระบบนิเวศของชายฝั่งทะเลอันดามันเสื่อมโทรมเป็นลำดับ อันจะส่งผลกระทบต่อการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ และความมั่นคงทางอาหาร รวมทั้งศักยภาพในการแข่งขันด้านการท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ดังนั้น จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งยวดที่หลายภาคส่วนต้องให้ความสำคัญต่อการวางแผนจัดการระบบนิเวศชายฝั่งทะเลให้เกิดความยั่งยืน เอื้อต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างมีดุลยภาพต่อไปในอดีตจังหวัดพังงาภูเก็ตเป็นแหล่งวางไข่ของเต่าทะเลที่สำคัญแห่งหนึ่งของประเทศไทย แต่ปัจจุบันสถานภาพมีแนวโน้มลดลงอย่างเห็นได้ชัด สาเหตุมาจากภัยคุกคามโดยกิจกรรมของมนุษย์ ทั้งตั้งใจและไม่ตั้งใจ จากการทำประมง การทำลายแหล่งที่อยู่อาศัย อาหาร และแหล่งวางไข่ ปัญหาความเสื่อมโทรมของคุณภาพน้ำทะเล และปัญหาขยะทะเล ซึ่งการปล่อยเต่ากลับคืนสู่ท้องทะเลนั้น ไม่เพียงแต่เพื่อเพิ่มจำนวนประชากรของเต่าทะเลในธรรมชาติเท่านั้น แต่ยังมุ่งหวังให้ทุกหน่วยงานภาครัฐ เอกชนและประชาชน เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมและสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์และฟื้นฟู ดังเช่นตัวอย่างการลงนามกันในปฏิญญาอนุรักษ์หาดไม้ขาว เพื่อเตรียมความพร้อมของพื้นที่ สำหรับการกลับมาวางไข่ของเต่าทะเลอีกครั้ง ซึ่งเป็นตัวอย่างที่ดีในการอนุรักษ์ทรัพยากรอย่างยั่งยืนให้กับพื้นที่อื่นๆ ต่อไปปัญหาที่สำคัญของชายหาด คือ ปัญหาขยะ ทั้งที่เกิดขึ้นจากเกาะภูเก็ตเอง และที่ลอยตามกระแสคลื่นมาจากที่อื่น ลำพังการดูแลอย่างเอาจริงเอาจังของท้องถิ่นและส่วนราชการต่าง ๆ ในจังหวัดภูเก็ตอันดามัน ไม่สามารถจัดการได้อย่างทั่วถึง เพราะขยะเหล่านี้เกิดขึ้นทุกวัน การสร้างการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่าง ๆ ให้เข้ามาช่วยกันดูแลจึงเป็นเป้าหมายที่สำคัญของมูลนิธิอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติอันดามัน วัตถุประสงค์ เพื่อสนองพระดำริสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา เพื่อสนับสนุนการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมอันดีเพื่อสืบสานขนบธรรมเนียมประเพณีของท้องถิ่น
เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง
เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของเอกชน นักศึกษา ผู้นำชุมชนองค์กร สิ่งแวดล้อมทั้งในและนอกประเทศ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมของชุมชนและท้องถิ่น
ดำเนินการหรือร่วมมือกับองค์กรการกุศลหรือองค์กรสาธารณประโยชน์