๑. ชื่อ โครงการ รักษ์ป่า รักษ์น้ำ รักษาแผ่นดิน “ปลูกต้นกฤษณาคืนป่าเขาพระแทว”
๒. ความเป็นมา
เนื่องในโอกาส ๑๓ ตุลาคม ๒๕๖๔ วันคล้ายวันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (ในหลวงรัชกาลที่๙) มูลนิธิอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติอันดามัน ได้จัดกิจกรรม “ปลูกต้นกฤษณาคืนป่าเขาพระแทว” ร่วมกับชุมชนป่าครองชีพ เพื่อน้อมรำลึกวันคล้าย วันสวรรคต เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแก่พระองค์ท่าน ณ เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาพระแทว ซึ่งอยู่ในพื้นที่บ้านป่าครองชีพ หมู่ที่ ๙ ตำบลเทพกระษัตรี อำถลาง จังหวัดภูเก็ต อดีตที่ผ่านมา บ้านครองชีพเป็นป่าหญ้าคา เป็นที่ไว้เลี้ยงสัตว์ของคนในหมู่บ้าน เเละหมู่บ้านไกล้เคียง ได้แก่ บ้านแขนน บ้านควน บ้านนาใน บ้านบ่อกรวด บ้านพรุสมภาร หรือเรียกอีกชื่อว่า บ้านทุ่งโพธิ์ บ้านป่าครองชีพ หมายถึงที่ใช้ครองชีวิตของคนในตำบล คือใช้สำหรับเลี้ยงสัตว์ และหาสมุนไพร ผักป่า และเตย รวมถึงสมุนไพรทุกชนิด เมื่อปี 2495 สมัยจอมพลปอพิบูลย์ สงคราม ได้ตกชุมชนหมู่ที่ ๙ จัดสรรที่ดินแห่งนี้ให้ชาวบ้านได้อาศัย และได้เปลี่ยนชื่อเป็น นิคมสร้างตนเองบ้านป่าครองชีพ เดิมเป็นบ้านป่าครองชีพอยู่ร่วมกันกับหมู่ที่ 5 บ้านเมืองใหม่ เมื่อผู้เข้ามาอยู่อาศัย จับจองเป็นเจ้าของมากขึ้น ก็ได้แยกหมู่บ้านออกจากหมู่ 5 – ๙ เมื่อปี 2514 และใช้ชื่อว่า บ้านป่าครองชีพ จนถึงปัจจุบัน อยู่ฝั่งตะวันออกของอำเภอถลาง ที่เริ่มจากบ้าน ผักฉีดทอดยาวขึ้นไปทางทิศเหนือจนถึงบ้านท่ามะพร้าว มีถนนล้อมรอบ โดยผ่านบ้านผักฉีด บ้านป่าคลอก บ้านบางแป บ้านบางโรง บ้านพารา จนสิ้นสุดปลายพืดเขาที่บ้านท่ามะพร้าว เทือกเขานี้มียอดเขาสูงได้แก่ ยอดเขาพระแทว สูง ๓๖๖ เมตร ยอดเขาควน สูง๔๔๘ เมตร ยอดเขาพาราสูง ๔๕๐ เมตร บริเวณเขาพระแทวมีหน่วยงานสถานีพัฒนาและส่งเสริมการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าเขาพระแทว ตั้งอยู่บริเวณน้ำตกโตนไทร ทางเข้าอยู่สี่แยกวัดพระนางสร้าง ส่วนทางฝั่งตะวันออก มีศูนย์โครงการคืนชะนีสู่ป่า อยู่บริเวณน้ำ
๓. หลักการและเหตุผล
จังหวัด ภูเก็ตมีลักษณะเป็นหมู่เกาะ วางตัวในแนวจากทิศเหนือไปทิศใต้ พื้นที่ส่วน ใหญ่ประมาณ ร้อยละ 70 เป็นภูเขา มียอดเขาที่สูงที่สุด คือ ยอดเขาไม้เท้าสิบสอง สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 529 เมตร และประมาณร้อยละ 30 เป็นพื้นที่ราบอยู่ตอนกลางและตะวันออกของเกาะ พื้นที่ ชายฝั่ง ด้านตะวันออกเป็นดินเลนและป่าชายเลน ส่วนชายฝั่งทะเลด้านตะวันตกเป็นภูเขา และหาดทรายที่สวยงาม ซึ่งเขตหวงห้ามล่าสัตว์ป่า เขาพระแทว เป็นพื้นที่ที่ต้องรักษาความอุดมสมบูรณ์ของป่าไม้ เพราะป่าไม้ เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง ต่อสิ่งมีชีวิต ไม่ว่าจะเป็นมนุษย์หรือสัตว์อื่น ๆ เพราะป่าไม้ มีประโยชน์ทั้งการเป็นแหล่งวัตถุดิบของปัจจัยสี่ คือ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัยและยารักษาโรคสำหรับมนุษย์ และยังมีประโยชน์ในการรักษาสมดุลของสิ่งแวดล้อม ถ้าป่าไม้ถูกทำลายลงไปมาก ๆ ย่อมส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ เช่น สัตว์ป่า ดิน น้ำ อากาศ ฯลฯ เมื่อป่าไม้ถูกทำลายจะส่งผลไปถึงดินและแหล่งน้ำด้วย เพราะเมื่อเผาหรือถางป่าไปแล้ว พื้นดินจะโล่งขาดพืชปกคลุม เมื่อฝนตกลงมาก็จะชะล้างหน้าดินและความอุดมสมบูรณ์ของดินไป นอกจากนั้นเมื่อขาดต้นไม้คอยดูดซับน้ำไว้น้ำก็จะไหลบ่าท่วมบ้านเรือน เกิดน้ำป่าไหลหลาก และที่ลุ่มในฤดูน้ำหลากพอถึงฤดูแล้งก็ไม่มีน้ำซึมใต้ดินไว้หล่อเลี้ยงต้นน้ำลำธารทำให้แม่น้ำมีน้ำน้อย ส่งผลกระทบต่อมาถึงระบบเศรษฐกิจและสังคม
๔. วัตถุประสงค์
๔.๑ เพื่อเป็นการแสดงความจงรักภักดี ความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ และความสามัคคีของ ประชาชนทุกหมู่เหล่า
๔.๒ เพื่อสร้างจิตสำนึกและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาครัฐ และภาคประชาชนได้ตระหนักถึง ความสำคัญของการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้และแหล่งน้ำ
๔.๓ เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ตระหนักถึงความสำคัญของการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำและป่าไม้และ นำไปสู่การช่วยกันดูแลรักษาความสมดุลของแผ่นดิน และเพิ่มพื้นที่สีเขียว
๔.๔ เพื่อให้แหล่งน้ำและพื้นที่ป่าคืนสู่สภาพเดิม มีความอุดมสมบูรณ์ และสามารถแก้ไขปัญหาความ แห้งแล้งในพื้นที่ได้อย่างยั่งยืน
๔.๕ เพื่อรักษาระบบนิเวศน์ของป่าไม้ให้มีความสมดุล
๔.๖ เพื่อให้สัตว์ป่าได้มีที่อยู่อาศัยที่เหมาะสม อุดมสมบูรณ์
๔.๗ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่ให้ดีขึ้น ป้องกันน้ำป่าไหลหลาก น้ำไหลท่วมบ้านเรือนประชาชน มีที่ทำกินเป็นหลัก แหล่ง และอยู่ร่วมอาศัยกับทรัพยากรป่าไม้อย่างสมดุล
๕. เป้าหมายโครงการ
๕.๑ รักษาสภาพป่าและฟื้นฟูสภาพต้นน้ำลำธารให้อุดมสมบูรณ์
๕.2 มีการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างถูกวิธี และมีคุณภาพ
๕.3 ประชาชนในที่พื้นที่มีความหวงแหน รักป่าไม้ในพื้นที่ ช่วยกันสอดส่องดูแลการตัดไม้ทำลายไม้มากขึ้น
๕.4 ชุมชนเกิดความรักและหวงแหนทรัพยากรธรรมชาติ
๕.5 คนกับป่าอยู่ร่วมกันได้อย่างยั่งยืน
๖. แผนการดำเนินการ
๖.๑ ประชุมชี้แจงร่วมกันวางแผนการดำเนินการ
๖.๒ เขียนโครงการ
๖.๓ ดำเนินการตามแผนงานโครงการ
๖.๔ ติดตามและประเมินผลโครงการ
๖.๕ สรุปผลการดำเนินโครงการ
๗. งบประมาณดำเนินการ
ความร่วมมือจากมูลนิธิ ภาครัฐและประชาชน
๘. ระยะเวลาดำเนินการ
วันที่ ๑๓ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๖๔
๙. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
๙.๑ ประชาชนทุกหมู่เหล่ามี ความจงรักภักดี ความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ
๙.๒ สภาพป่ามีความอุดมสมบูรณ์ ป่าที่เสื่อมโทรมได้รับการปลูกทดแทนฟื้นฟูให้กลับคืนสู่สภาพป่า
๙.๓ เพิ่มพื้นที่สีเขียว เพิ่มแหล่งน้ำ บรรเทาปัญหาภัยแล้ง ปัญหาน้ำใต้ดิน และ เพิ่มความอุดมสมบรูณ์ของพื้นที่
๙.๔ ประชาชนได้รับการฝึกอบรม ปลูกฝังสร้างจิตสำนึกต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ รักษาสัตว์ป่าและสิ่งแวดล้อม
๙.๕ สร้างความสมานฉันท์ให้เกิดในชุมชน
๑๐. หน่วยงานหลัก/ผู้ประสานโครงการ
มูลนิธิอนุนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติอันดามัน นายสำราญ สินธ์ทอง เลขาธิการมูลนิธิอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติอันดามัน และเขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาพระแทว นายปิยวัฒน์ สุคนธ์ หัวหน้าเขตห้าล่าสัตว์ป่าเขาพระแทว
๑๑. หน่วยงานร่วมโครงการ
๑๑.๑ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กรมป่าไม้
๑๑.๒ ภาครัฐและเอกชน
๑๑.๓ ภาคประชาชน