มูลนิธิอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติอันดามัน ร่วมกับโรงเรียนเฉลิมพระเกียติสมเด็จพระศรีนครินทร์ภูเก็ต จัดโครงการ "รักษ์ ป่า รักษ์น้ำ รักษาแผ่นดิน" เนื่องวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ในวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ.2564 เวลา 08.30. น.ที่โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระศรีนครินทร์ อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต ร่วมปลูกต้นไม้และปล่อยพันธ์ุกุ้ง
เขาพระแทว อยู่ฝั่งตะวันออกของอำเภอถลาง ที่เริ่มจากบ้านผักฉีดทอดยาวขึ้นไปทางทิศเหนือจนถึงบ้านท่ามะพร้าว มีถนนล้อมรอบ โดยผ่านบ้านผักฉีด บ้านป่าคลอก บ้านบางแป บ้านบางโรง บ้านพารา จนสิ้นสุดปลายพืดเขาที่บ้านท่ามะพร้าว พืดเขานี้มียอดเขาสูงได้แก่ ยอดเขาพระแทว สูง ๓๖๖ เมตร ยอดเขาควน สูง๔๔๘ เมตร ยอดเขาพาราสูง ๔๕๐ เมตร บริเวณเขาพระแทวมีหน่วยงานสถานีพัฒนาและส่งเสริมการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าเขาพระแทว ตั้งอยู่บริเวณน้ำตกโตนไทร ทางเข้าอยู่สี่แยกวัดพระนางสร้าง ส่วนทางฝั่งตะวันออก มีศูนย์โครงการคืนชะนีสู่ป่า อยู่บริเวณน้ำตกบางแป เมื่อเวลา 09.00น.วันที่12สิงหาคม พ.ศ.2564 นายสุวิทย์ สุริยะวงค์ นายอำเภอถลาง ประธานเปิดโครงการ "รักษ์ ป่า รักษ์น้ำ รักษาแผ่นดิน"โดยมีนายสำราญ สินธ์ทอง เลขาธิการมูลนิธิทรัพยากรธรรมชาติอันดามันข้าราชการและประชาชน ร่วม เพื่ออนุรักษ์ป่าต้นน้ำและส่งเสริมการท่องเที่ยว วิถีชีวิตชุมชนสร้างอาชีพเกษตรกรและวิสาหกิจชุมชนเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 12สิงหาคม พ.ศ.2564 ณ ถนนควนตาเท่น อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต
นายสำราญ กล่าวว่าเพื่ออนุรักษ์ป่าต้นน้ำและส่งเสริมการท่องเที่ยว วิถีชีวิตชุมชนสร้างอาชีพเกษตรกรและวิสาหกิจชุมชนเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 12สิงหาคม พ.ศ.2564 นายสำราญกล่าวอีกว่าอีกบิ๊กคลีนนิ่งเดย์ ควนตาเท่า ระยะทาง2,500 เมตร เพื่อเตรียมพร้อมความของชุมชนไว้รองรับนักท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างชาติ ได้มาเดินชมทัศนียภาพ วิถีชุมชน ชมนก ชมสวนผลไม้ เที่ยวน้ำตก ฯลฯ
นอกจากนี้แล้วเพื่อให้เยาวชน นักเรียน นักศึกษาและประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในจัดการพื้นที่กันเอง ท่องเที่ยวอนุรักษ์ธรรมชาติ และให้คนพื้นที่และนักท่องเที่ยวเรียนรู้และอยู่ร่วมกันรักษาป่าต้นน้ำเขาพระแทว ตำบลป่าคลอก อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต
๑.หลักการและเหตุผล
วิถีชีวิตคน น้ำ และป่า พึ่งพาอาศัยการซึ่งกันและกัน ป่า น้ำ และดิน จะอุดมสมบูรณ์ คนเป็นปัจจัยสำคัญ สภาพแวดล้อมที่ดีที่สมบูรณ์จะส่งผลต่อคุณภาพชีวิตที่ดีของคนปัจจุบันปัญหาความแห้งแล้ง ปัญหาน้ำท่วม ความเสื่อมโทรมของทรัพยากรน้ำและป่า อยู่ในขั้นวิกฤติ ทั้งทีประเทศไทย ตั้งอยู่บนภูมิศาสตร์ที่ดี มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง แต่เรากลับเผชิญวิกฤตภัยแล้งได้ การฟื้นฟูต้องอาศัยความร่วมมือจากคนในชุมชนทุกภาคส่วน โดยฟื้นฟู พื้นที่ต้นน้าลำธาร และการปลูกป่าเพิ่ม โครงการฝายมีชีวิต เป็นการยกระดับการฟื้นฟูระบบนิเวศทั้งสัตว์ พืช และแหล่งน้ำ ช่วงหน้าแล้ง ฝายมีชีวิต จะระบายน้ำออกมาให้เป็นแหล่งน้ำใช้ทางการเกษตร ช่วงหน้าฝนน้ำหลาก ฝายมีชีวิตจะชะลอกักเก็บน้ำสร้างความชุ่มชื้นให้พื้นที่ และเป็นสถานที่ ที่ให้ทุกคนในชุมชนร่วมกันสร้างความเข้าใจ เรียนรู้ เรื่องดิน น้ำ ป่า โดยใช้ภูมิปัญญาชาวบ้าน ของชุมชน
๒.วัตถุประสงค์
๑. เพื่อเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร
๒. เพื่อเป็นการแสดงความจงรักภักดี ความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ และความสามัคคีของประชาชนทุกหมู่เหล่า
๓. เพื่อสร้างจิตสำนึกและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาครัฐ และภาคประชาชนได้ตระหนักถึงความสำคัญของการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้และแหล่งน้ำ
๔. เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ตระหนักถึงความสำคัญของการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำและป่าไม้และนำไปสู่การช่วยกันดูแลรักษาความสมดุลของแผ่นดิน และเพิ่มพื้นที่สีเขียว
๕. เพื่อให้แหล่งน้ำและพื้นที่ป่าคืนสู่สภาพเดิม มีความอุดมสมบูรณ์ และสามารถแก้ไขปัญหาความแห้งแล้งในพื้นที่ได้อย่างยั่งยืน
๓.เป้าหมายดำเนินการ
โครงการสร้างฝายมีชีวิต ในพื้นที่ตำบลป่าคลอก จำนวน ๒ ฝาย
๔.สถานที่ดำเนินการ
ฝายมีชีวิต ณ บ้านป่าคลอก หมู่ที่๒ ตำบลป่าคลอก อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต
๕.ระยะเวลาดำเนินการ
๑. วันที่ ๑๔ พฤศจิกายน – ๒ ธันวาคม ๒๕๖๓
ขั้นดำเนินการ
๖. หน่วยงานดำเนินการ
๑.มูลนิธิอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติอันดามัน
๒.กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
๓.ภาคประชาชน
๗. วิธีดำเนินการ
๑.ประชุมชี้แจงปัญหาต่างๆ และร่วมกันวางแผนการดำเนินการ
๒.ร่างโครงการและเขียนโครงการเสนอผู้ว่าราชการจังหวัด นายณรงค์ วุ่นซิ้ว
๓.ประชาสัมพันธ์ สถานที่ วันและเวลา เพื่อเชิญชวนเข้าร่วมโครงการ
๔.ดำเนินการตามแผนงานโครงการ
๕.ติดตามและประเมินผลการดำเนินโครงการ
๖.สรุปผลการดำเนินโครงการ
๘.งบประมาณ
ความร่วมมือจากมูลนิธิ ภาครัฐและประชาชน
๙.ผลที่คาดว่าจะได้รับ
๑.ประชาชนทุกหมู่เหล่าได้แสดง ความจงรักภักดี ความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ
๒.ปลูกจิตสำนึกประชาชนในพื้นที่ รักน้ำ รักป่า รักษาแผ่นดิน หวงแหนทรัพยากร และสิ่งแวดล้อม
๓.เพิ่มพื้นที่สีเขียว เพิ่มแหล่งน้ำ บรรเทาปัญหาภัยแล้ง ปัญหาน้ำใต้ดิน และ เพิ่มความอุดมสมบรูณ์ของพื้นที่
๔. สร้างความสมานฉันท์ให้เกิดในชุมชน
๔. เมื่อดิน น้ำ ป่าสมบูรณ์ สร้างเศรษฐกิจชุมชนเข้มแข็ง และเพื่อพัฒนาพื้นที่ดังกล่าวเป็นแหล่งท่องเที่ยว
๑๐.ผู้เขียนโครงการ
มูลนิธิอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติอันดามัน
๑๑.ผู้เสนอโครงการ
๑.มูลนิธิอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติอันดามัน